ประวัติและข้อมูลหมู่บ้าน  บ้านโนนรัง หมู่ที่  2 ตำบลบ้านกู่  อำเภอยางสีสุราช  จังหวัดมหาสารคาม

ข้อมูลทั่วไป

ประวัติหมู่บ้าน

    บ้านโนนรัง หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม เริ่มก่อตั้งขึ้นปี พ.ศ. 2454 หรือประมาณ 90 ปีมาแล้ว โดยมีคน 2 กลุ่มที่อพยพมาก่อตั้งขึ้น กลุ่มแรกอพยพมาจากบ้านหนองซำ ตำบลดงบัง (ปัจจุบันตำบลหัวดง) อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย (ปัจจุบันอำเภอนาดูน) จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 8 คน คือ 1. พ่อแก้ว วงษ์นอก 2. พ่อนน พิลาลี 3. พ่อลุน เกี้ยมแสนเมือง 4. พ่อบา ปัจจัยโก 5.พ่ออ้าย คุณวงศ์ 6. พ่อเป๊ต อันทะเดช 7. พ่อโพธิ์ สอนวงษ์แก้ว 8. พ่อสี ห่านคำวงษ์ กลุ่มที่สอง อพยพมาจากบ้านหัวดง ตำบล ดงบัง (ปัจจุบันตำบลหัวดง) อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย (ปัจจุบันอำเภอนาดูน) จังหวัดมหาสารคาม มีจำนวน 6 คน คือ 1. พ่อยนต์ 2. พ่อโจ้ 3.พ่อบุญ เชื้อนิล 4. พ่อแก้ว กิ้นบุราณ 5. พ่อพุมมี 6. พ่ออุตทา กิ้นบุราณ

        สาเหตุที่ทั้ง 2 กลุ่มอพยพมาจากบ้านเดิมเพราะ มีที่นาอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้าน ช่วงฤดูทำนาก็ต้องเดินทางมาอย่างลำบากทำให้เหน็ดเหนื่อย จึงมาตั้งบ้านใหม่ขึ้นคือ บ้านโนนรัง เหตุที่ตั้งชื่อหมู่บ้านโนนรัง เพราะ มีสภาพพื้นที่เป็นโนนและป่าทึบเต็มไปด้วยต้นรังน้อยใหญ่

1.  สภาพทั่วไปของชุมชน

อาณาเขต

           ทิศเหนือ          จรดบ้านดอนดู่       ตำบลหัวดง          อำเภอนาดูน

           ทิศใต้              จรดบ้านหนองรูแข้  ตำบลหนองบัวสันตุ   อำเภอยางสีสุราช

           ทิศตะวันออก     จรดบ้านป่าตอง             อำเภอยางสีสุราช

           ทิศตะวันตก       จรดบ้านกู่ หมู่ที่1           อำเภอยางสีสุราช

 

ประชากร

      บ้านโนนรัง หมู่ 2 เป็นสังคมเกษตรกรรม ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนห่างกันไม่แออัดส่วนมากอาศัยในบ้านเรือนร่วมกันเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuciear Family) คือ พ่อ แม่ ลูก

มีประชากรทั้งหมด 481   คน

        ชาย           221   คน

        หญิง          260   คน

 

2.  สภาพเศรษฐกิจ

       ประชากรส่วนใหญ่ของบ้านโนนรัง หมู่ 2 ประกอบอาชีพการเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก คือ ทำนา ซึ่งเป็นนาดำทั้งหมด ทำได้ปีละครั้งโดยอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก นอกภาคฤดูการเกษตรกรรม ประชาชนจะประกอบอาชีพเสริม เช่น การเจียระไนพลอย เลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ตัดเย็บ เสื้อผ้า เลี้ยงสัตว์ และรวมกลุ่มทำขนม

การประกอบอาชีพ

        อาชีพทำนา  97     ครอบครัว

        รับราชการ   11     ครอบครัว

        ค้าขาย                1      ครอบครัว

 

รายได้ของประชาชนในหมู่บ้านต่อปีในแต่ละครอบครัวโดยสรุปรวมทั้งหมดประมาณ

                10,001 – 20,000  บาท   มี      50     ครอบครัว

                20,001 – 30,000  บาท   มี      36     ครอบครัว

                30,001 – 50,000  บาท   มี      12     ครอบครัว

                50,001 – 100,000 บาท  มี      5      ครอบครัว

        ประชากรหมู่บ้านออกไปขายแรงงานต่างถิ่น จำนวน 41 ครอบครัว

                มีจำนวน     64     คน

        ทุกคนที่ไปทำงานส่งเงินเข้าหมู่บ้านรวมทั้งหมดประมาณปีละ   1,536,000    บาท

 

กลุ่มองค์กร/ชุมชน

กลุ่มออมทรัพย์

            กิจกรรมหลัก คือ รับฝากเงินสัจจุจากสมาชิกและให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยต่ำตั้งขึ้นเมื่อ   พ.ศ. 2539

            ประธาน คือ นายอภิชาต จันทะวงศ์ อายุ 45 ปี

            ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 69 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช   จังหวัดมหาสารคาม 44210

        กลุ่มทำขนม

            กิจกรรมหลัก คือ ทำขนมเพื่อจำหน่าย (หาบขายภายในหมู่บ้านและบ้านใกล้เคียง)

            ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2542

            ประธาน คือ นางสงวนศรี ผาพงษา อายุ 45 ปี

            ที่ยู่ติดติดได้ บ้านเลขที่ 41 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช

            จังหวัดมหาสารคาม 44210 โทรศัพท์ 043-724753

        กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า

            กิจกรรมหลัก คือ ตัดเย็บเสื้อผ้าตามลูกค้าสั่ง

            ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2540

            ประธาน คือ นางยวน แม่นศรรา อายุ 45 ปี

            ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 71 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช

    จังหวัดมหาสารคาม 44210

กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน (หมู่บ้านละ 1 ล้านบาท)

    ตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 18 เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2544

    ประธาน คือ นายเรืองศักดิ์ พะโยโค อายุ 50 ปี

    ที่อยู่ที่ติดต่อได้ บ้านเลขที่ 66 หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช

    จังหวัดมหาสารคาม 44210 โทรศัพท์ 09-5776078

 

ศาสนาและวัฒนธรรม

สภาพปัจจุบันของบ้านโนนรังหมู่ที่ 2 ประชากรในหมู่บ้านนับถือศาสนาพุทธ มีความเลื่อมใสศรัทธาในพิธีกรรมทางศาสนาและเคารพนับถือพระครูโสภณสมนากร และหลวงพ่อชารี ผาพงษา มีประชากรบางคนยังเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ เป็นที่ยึดเหนี่ยวยึดใจ มีการสืบทอดประเพณีจากบรรพบุรุษ เช่น การทำบุญคูนลาน ทำบุญขึ้นบ้านไหม่ งานแต่ง

        พิธีกรรมที่ประชาชนในชุมชนปฏิบัติ คือ พิธีกรรมการบวช พิธีกรรมบุญแจกข้าวหาผู้ตาย และพิธีกรรมเกี่ยวกับการทำนาข้าว เช่น การเลี้ยงผีตาแฮก การเลี้ยงผีปู่ตา พิธีปลงข้าว พิธีทำขวัญเจ้า หรือจกปากเล้า

        มีวัด   1      แห่ง   ชื่อ  วัดบ้านโนนรัง

        มีพระ / บาทหลวง 2      รูป

        1.  พระครูโสภณสมนากร

        2.  หลวงพ่อชารี ผาพงษา

        ภาษาพื้นบ้าน คือ ภาษาไทย และภาษาอีสาน

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page