ประวัติและข้อมูลหมู่บ้าน บ้านกู่ หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม |
ข้อมูลทั่วไป |
1. สภาพทั่วไป |
บ้านกู่ หมู่ที่ 1 เดิมย้ายมาจากบ้านโคกสีดงมัน บ้านดงบัง บ้านหัวดง และบ้านหนองซำ ซึ่งมี นายมาตร นายราชเสนา มหารัญ นายเหลา ชินหัวดง นายจำ นายเที่ยง จำปาวดี นายชินวงษ์ ไชยโก ทั้งหมดนี้เป็นผู้นำในการย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากเป็นบ้านกู่ เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2430 ต่อมาเมื่อมีประชากรเพิ่มขึ้น มีครัวเรือนเพิ่มขึ้น ชาวบ้านจึงได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้างวัดขึ้น ชื่อวัดชัยมงคล เมื่อปี พ.ศ. 2443 ที่ตั้งวัดมีปรางค์กู่ จึงเอานามชื่อของหมู่บ้านว่า บ้านกู่ ผู้นำหมู่บ้านคนแรก (กำนัน) คือ นายหนูไกร ภพไกร คนที่ 2 นายบุญ ห่านคำวงษ์ คนที่ 3 นายผงมหารัญ คนที่ 4 นายบุญศรี (อยู่ได้ 3 ปี) ต่อมา นายผง มหารัญ จนครบ 60 ปี ก็หมดวาระไป ต่อมาคนที่ 5 นายชารี จันดาหัวดง คนที่ 6 นายด้วย สีหานาม และจนถึงปัจจุบันคือ นางศศินิภา อำนาจครุฑ |
อาณาเขต |
ทิศเหนือ จรดบ้านดอนดู่ – บ้านวังบอน อำเภอนาดูน ทิศใต้ จรดบ้านสว่าง – บ้านโนนจาน อำเภอยางสีสุราช ทิศตะวันออก จรดบ้านโนนรัง อำเภอยางสีสุราช ทิศตะวันตก จรดบ้านหัวช้าง อำเภอยางสีสุราช
|
ประชากร |
บ้านกู่ หมู่ที่ 1 มีครัวเรือนทั้งหมด 96 ครัวเรือน ประชากร 507 คน หญิง 253 คน |
2. สภาพเศรษฐกิจ |
ประชากรส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม คือ ทำนาข้าวเป็นหลักมีพื้นที่ในการทำนา ประมาณ 1,050 ไร่ นอกจากนี้ยังมีอาชีพเสริมได้แก่ การเลี้ยงโค กระบือ ทอผ้า เจียระไนพลอย ค้าขาย รับจ้าง เป็นต้น มีโคกระบือ 200 ตัว สุกร 80 ตัว เลี้ยงเป็ด/ไก่ 80 ครัวเรือน มีบ่อเลี้ยงปลาบริเวณบ้าน 2 บ่อ / สระน้ำในที่นา 6 บ่อ เลี้ยงกบบริเวณบ้าน 2 ครัวเรือน ปลูกผักสวนครัวในบริเวณบ้าน 20 ครัวเรือน และในหมู่บ้านมีกองทุนด้านอาชีพและกลุ่มเศรษฐกิจจำนวน 6 กลุ่มดังนี้ 1. กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2544 มีเงินกองทุน 1,069,803 บาท มีเงินสัจจะออมทรัพย์ 54,426 บาท คณะกรรมการ 9 คน สมาชิก 83 ราย ดำเนินกิจกรรมให้สมาชิกกู้ยืมเงินประกอบอาชีพ อาชีพที่ประสบผลสำเร็จคือการการเลี้ยงโค และค่าขายของชำ 2. กองทุนแก้ไขปัญหาความยากจน (กข.คจ.) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 มี เงินกองทุน 280,000 บาท มีคณะกรรมการ 9 คน สมาชิก 80 ครัวเรือน ดำเนินกิจกรรมให้สมาชิกกู้ยืมเงินประกอบอาชีพส่วนใหญ่ เลี้ยงโค และทำการเกษตรที่ประสบผลสำเร็จคือเลี้ยงโคและทำขนมจีน 3. กองทุนกระตุ้นเศรษฐกิจ (พ.ศ. 2544 ) มีเงินกองทุน 100,000 บาท มีคณะกรรมการ 7 คน สมาชิก 96 คน ให้สมาชิกกู้ยืมเงินประกอบอาชีพที่ประสบความสำเร็จคือ เลี้ยงสุกรขุนเพื่อขาย 4. กลุ่มทอผ้า มีการท่อผ้าไหมของแม่บ้าน มีคณะกรรมการและแกนนำสตรีแม่บ้านเริ่มต้น 15 คน มีเงินกองทุน 10,000 บาท 5. กลุ่มเจียระไนพลอย มีสมาชิกเริ่มต้น 22 คน มีการประกอบอาชีพเสริม คือรับพลอยเจียระไนเพื่อเสริมรายได้ของครอบครัว 6. กลุ่มธนาคารข้าว มีสมาชิกทุกครอบครัว คือ 96 ครัวเรือน มีข้าวไว้กู้ยืม 7 ตัน มีการหมุนเวียนทุกๆ ปี
|
3. ทรัพยากรในชุมชน |
1. แหล่งน้ำธรรมชาติ |
- ลำห้วยกำพร้า ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 1,300 เมตร ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร (ทำนา) เป็นแหล่งอาหารของชาวบ้าน และใช้เลี้ยงสัตว์ น้ำมีไม่มากนักในฤดูแล้ง - หนองกู่ (หนองใหญ่) เนื้อที่ 56 ไร่ ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร (ทำนา) เป็นแหล่งอาหาร ของชาวบ้าน และใช้เลี้ยงสัตว์ น้ำมีไม่มากนักในฤดูแล้ง
|
2. แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น |
- ประปาหมู่บ้าน 2 แห่ง สามารถใช้น้ำอุปโภคบริโภค ได้ทั้งหมู่บ้าน มีสมาชิกในการใช้น้ำ 96 ครัวเรือน |
3. ป่าไม้ |
- ป่าดอนปู่ตา มีเนื้อที่ 13 ไร่ ใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจของคนในชุมชน ใช้เป็นประกอบพิธีกรรมของหมู่บ้าน เป็นการอนุรักษ์ ป่าชุมชนของหมู่บ้าน เป็นแหล่ง อาหารของชุมชนและสมุนไพร - ต้นไผ่ในหมู่บ้าน ในหมู่บ้านมีต้นไผ่จำนวนมาก ใช้ประโยชน์โดยใช้หน่อเป็นอาหารลำต้นใช้จักสานเป็นอุปกรณ์ เครื่องใช้ในครัวเรือน มีภูมิปัญญาชาวบ้านที่มีความ สามารถจักสารไม่ไผ่ในหมู่บ้าน 6 คน
|
4. ดิน |
- สภาพดินส่วนใหญ่ในหมู่บ้าน มีปัญหาด้านดินเปรี้ยว ดินเค็มมีบางพื้นที่ ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ปัญหาดินที่พบมากในหมู่บ้านคือ ขาดความอุดมสมบูรณ์ในการเกษตร
|