ประวัติและข้อมูลหมู่บ้าน  บ้านกู่น้อย  หมู่ที่  9 ตำบลบ้านกู่  อำเภอยางสีสุราช  จังหวัดมหาสารคาม

ข้อมูลทั่วไป

ประวัติหมู่บ้าน

           บ้านกู่น้อยเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2526 ประมาณ 200 ปี มาแล้วสาเหตุที่ได้ชื่อว่า บ้านกู่น้อยเพราะว่าที่หมู่บ้านมีสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เรียกว่าดงกู่มีลักษณะเป็นป่าทึบ มีสัตว์ป่ามากมาย เช่น แย้ เสือดาว ช้าง ฯลฯ ชาวบ้านสักการบูชากราบไหว้ คนกลุ่มแรกที่มาตั้งรกราก ก่อตั้งหมู่บ้านหัวดง (หนองช้า) ตำบลหัวดง อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม โดยการเดินทางลัดป่า ลัดทุ่งนา เพื่อมาทำไร่ ทำนา ในสถานที่แห่งนี้ ทั้งสองเกิดความคิดว่าอยากมาปักหลักตั้งฐานที่แห่งนี้ เพราะเป็นที่อุดมสมบูรณ์ ( มีหนองน้ำ) เหมาะที่จะทำการเกษตร จึงอพยพมาตั้งรกรากถากถางป่า เริ่มจากบริเวณ ดงกู่ถากถางเพื่อเป็นที่สักการนมัสการกราบไหว้

        ตอนหลังชาวบ้านจึงเริ่มอพยพมาตั้งถิ่นฐานมากขึ้น  จากอดีตมีแค่ 2 ครัวเรือน  ก็เพิ่มมากขึ้นและรวมกันบูรณะกู่ขึ้นในปี พ.ศ. 2489 และสถาปนากู่ขึ้นจนเป็นที่รู้จักแพร่หลาย ในหมู่บ้านใกล้เคียง

        ปัจจุบันบ้านกู่ได้แยกออกเป็น 2 หมู่บ้าน คือ บ้านกู่หมู่ 1 และบ้านกู่น้อยหมู่ 9 มีจำนวนครอบครัว 101 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 412 คน

 

1.  สภาพทั่วไปของชุมชน

ที่ตั้ง

        บ้านกู่น้อย หมู่ 9 ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ มีระยะทางจากบ้านกู่น้อยถึงอำเภอยางสีสุราช ประมาณ 7 กิโลเมตร และจากจังหวัดมหาสารคาม 80 กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ     ติดต่อกับเขตบ้านดอนดู่วงบอน ตำบลหัวดง อำเภอนาดูนระยะทาง 4 กิโลเมตร

ทิศใต้         ติดต่อกับเขตบ้านสว่าง สุขสำราญ ตำบลดงเม็ก อำเภอยางสีสุราช ระยะทาง 2 กิโลเมตร

ทิศตะวันออก        ติดต่อกับเขตบ้านโนนรัง ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช ระยะทาง 1 กิดลเมตร

ทิศตะวันตก  ติดต่อกับเขตบ้านโนนรัง ตำบลบ้านกู่ อำเภอยางสีสุราช ระยะทาง 2 กิโลเมตร

สภาพภูมิประเทศ

         พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านกู่น้อยหมู่ 9 เป็นที่ราบสูง และลุ่มๆ ดินๆ มีหนองน้ำขนาดใหญ่ อยู่ใกล้บริเวณหมู่บ้าน มีป่าไม้น้อยใหญ่ปกคลุมไปทั่วบริเวณพื้นดินมีลักษณะเป็นดินร่วนปนทรายอุ้มน้ำได้เล็กน้อย

ประชากร

          บ้านกู่น้อยหมู่ 9 นับประชากรในหมู่บ้านทั้งหมด 412 คน

                                เป็นชาย 202 คน

                                หญิง 210 คน

                        ในหมู่บ้านมีครัวเรือน 101 ครอบครัว

                                มีบ้าน 101 หลังคาเรือน

                                จำนวนสมาชิกโดยเฉลี่ย 4 คน / ครอบครัว

 

ช่วงอายุปี

จำนวนคน

คนด้อยโอกาส

คนพิการ

คนถูกทอดทิ้ง

ผู้ติดเชื้อ HIV

1 วัน                        -    3 ปีเต็ม

41

-

-

-

3 ปี 1 วัน                 -    6 ปีเต็ม

50

-

-

-

6 ปี 1 วัน                 -    12 ปีเต็ม

45

-

-

-

12 ปี 1 วัน               -    15 ปีเต็ม

55

-

-

-

15 ปี 1 วัน               -    18 ปีเต็ม

75

-

-

-

18 ปี 1 วัน               -    50 ปีเต็ม

50

-1

-

-

50 ปี 1 วัน               -    60 ปีเต็ม

45

3

1

-

60 ปี 1 วันขึ้นไป

42

3

1

-

รวม

393

7

2

-

 

รายชื่อคนพิการและไม่มีผู้อุปการะ

ลำดับที่

ชื่อ – สกุล

อายุ

ระดับการศึกษา

บ้านเลขที่

สภาพปัจจุบัน

1

2

3

4

นายประเทือง  ธรรมรัง

นายไกรสร     ชินหัวดง

นางหลอด       ปินะกา

นางลบ            ไชยโก

48

58

61

68

จบ ป. 4

จบ ป. 4

จบ ป. 4

อ่าน-เขียนไม่ได้

30

48

45

10

พิการขา-มืองอ

พิการมืองอ

พิการขา

พิการขา

 

 

ระบบสาธารณูปโภคหมู่บ้าน

แสดงสาธารณูปโภคและทรัพย์สินบริการชุมชน

รายการ

จำนวน

สภาพและลักษณะการใช้ประโยชน์

1.     น้ำประปา

2.     ถังเก็บน้ำฝน

3.     โอ่งแดง

4.     บ่อน้ำดื่ม

5.     บ่อบาดาล

6.     สระน้ำ

7.     ห้วย

8.    ฝายกั้นน้ำ

9.     ร้านค้าในชุมชน

10.โรงสีข้าว

    11. ศูนย์สาธารณะสุขมูลฐาน

    12. ศาลาประชาชน

    13. หอกระจายข่าว

    14. โทรศัพท์

1

1

200

5

2

1

1

1

3

4

1

1

1

1

ใช้งานได้ อุปโภค-บริโภคทำการเกษตร

ใช้งานได้ อุปโภค-บริโภค

ใช้งานได้ เก็บไว้ดื่ม

ใช้งานได้  อุปโภค  ทำการเกษตร

ใช้งานได้  อุปโภค

ใช้งานได้  อุปโภคทำการเกษตร  เลี้ยงสัตว์

ใช้งานได้  แหล่งอาหารทำการเกษตร

ใช้งานได้  อุปโภคทำการเกษตร

ค้าขาย  สินค้าบริการในชุมชน

ใช้งานได้สีข้าวให้บริการในชุมชน

ใช้งานได้  ไว้จำหน่ายยาในชุมชน

ใช้งานได้  ประชุม  เสวนา

ใช้งานได้  ให้ข่าวสาร

ใช้งานได้  ติดต่อสื่อสาร

 

 

สภาพทางเศรษฐกิจ

อาชีพของประชากรในหมู่บ้านก็น้อย หมู่ 9 ประกอบอาชีพทำนาเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งทำนานี้ทำได้ปีละครั้ง โดยอาศัยน้ำฝน ปกติชุมชนให้เวลาการทำนาตั้งแต่ประมาณเดือน 6 ซึ่งเป็นฤดูฝนเป็นต้นไปจนถึงช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิตประมาณเดือน 12 เป็นเวลาประมาณ 7-8 เดือน ช่วงเวลาว่างจากการทำนาที่เหลืออยู่ประมาณ 4 เดือน คือช่วงปลายฤดูหนาวและตลอดฤดูร้อนของแต่ละปี ดังนั้น ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงว่างงาน จะมักเลี้ยงสัตว์บ้าง มีการเลี้ยงไหม ทอผ้าไหม ตัดเย็บเสื้อผ้า และเจียระไนพลอยเป็นอาชีพเสริม แต่เนื่องจากทำได้ไม่ต่อเนื่องจึงเกิดการว่างงานมีรายได้ไม่พอใช้จ่ายในครอบครัว

                บ้านกู่น้อย หมู่ 9 มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งหมด 1,500 ไร่ เป็นที่จำนวน 1,450 ไร่ และที่สวน 50 ไร่

                หน่วยธุรกิจในหมู่บ้านกู่น้อย หมู่ 9 ได้แก่

1.     ปั้มน้ำมัน     1  แห่ง

2.     มีโรงสีข้าว   4  โรง

3.     มีร้านค้าชุมชน      3 ร้าน

       

รายได้ของประชาชนในหมู่บ้านต่อปีในแต่ละครอบครัว โดยสรุป

รายได้ / ปี (บาท)

จำนวนครอบครัว (หลัง)

1,000 -5,000

5,001 – 10,000

10,001 – 20,000

20,001 – 30,000

30,001 – 50,000

50,001 – 100,000

25

30

30

6

5

5

 

        รายได้ของประชากรโดยเฉลี่ยประมาณ 5,000 บาท / ปี

               

                ด้านการเกษตร

                        ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันมีการพัฒนาในด้านการเกษตรมากขึ้นโดยเฉพาะมีการพัฒนาแหล่งน้ำ ขุดสระ ห้วยกู่ มีความจุน้ำประมาณ 408,000 ลูกบาศก์เมตร มีเนื้อที่ 56 ไร่ สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่ทำกานเกษตรได้อย่างทั่วถึง และโครงการสูบน้ำไว้ทำการเกษตรพอเพียง

        พืชสำคัญที่ปลูกกันในชุมชนมีข้าว ข้าวโพด พืชผักสวนครัว ฯลฯ

การถือครองที่ดินทำกินเป็นของตนเอง

ขนาดพื้นที่

จำนวนครัวเรือน

1.     1-5  ไร่

2.     6-10  ไร่

3.     11-12  ไร่

4.     21-50  ไร่

5.     50  ไร่ขึ้นไป

10

13

37

37

                        -

 

 

การประกอบอาชีพ

ลักษณะอาชีพ

จำนวนครัวเรือน

1.     อาชีพทำนา

 

2.     อาชีพค้าขาย

 

3.     อาชีพรับจ้าง

98

2

1

รวม

101

 

                ประเภททำนา

1.     ทำนาหว่าน  ไม่มี

2.     ทำนาดำ  จำนวน  1,450  ไร่

ปัญหาทางสังคม

1.     เยาวชน  อพยพไปใช่แรงงานต่างถิ่น

2.     เยาวชนขาดความรู้ในการประกอบอาชีพ

3.     ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีเงินทุนหมุนเวียน

4.     ชาวบ้านว่างงานจากการทำนาเสร็จ

5.     ผู้นำชุมชนขาดการประสานงานติดตามผล ในเรื่องความเป็นอยู่ของชุมชน

ประวัติโบราณและโบราณสถานปรางค์กู่

     สภาพทางภูมิศาสตร์

                        ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่วัดชัยมงคล  ตำบลบ้านกู่  อำเภอยางสีสุราช จังหวัดมหาสารคาม อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ขององค์พระธาตุนาดูน ห่างจากพระธาตุนาดูนประมาณ 11-12 กิโลเมตรมีเนื้อที่ทั้งหมด 25 ไร่

 

                ความเป็นมาของการขุดค้นพบปรางค์กู่ และของวัตถุโบราณ

                        พื้นที่ปรางค์กู่เป็นเนินดินสูง  ปกคลุมด้วยป่าทึบมากมาย  เชื่อกันว่าบริเวณนี้  ต้องเป็นสถานที่ที่มีความสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ทางพระพุทธศาสนาเพราะมีคนเก่าแก่เล่าให้ฟังว่า พอถึงวันพระมีชาวบ้านเห็นแสงสว่างลุกโชติในตอนกลางคืน  ตรงบริเวณที่เป็นเนินสูงและจอมปลวก ชาวบ้านจึงมีความเชื่อถือและเคารพสถานที่แห่งนี้มาก

                        ต่อมาในปี พ.ศ. 2443 ชาวบ้านกู่ได้ร่วมแรงร่วมใจสร้างวัดขึ้นในเขตใกล้บริเวณปรางค์กู่ห่างประมาณ 10เมตร แต่ตอนนั้นยังมีพบปรางค์กู่ ในปี พ.ศ. 2489 พระอาจารย์น้อยเจ้าอาวาสวัด ในขณะนั้นได้พาลูกวัดช่วยกันพัฒนาบริเวณวัด โดยถากถางป่าในบริเวณวัด และลึกเข้าไปในบริเวณป่ารอบนอก เกิดความสงสัยว่าบริเวณเนินดินสูง มีจอมปลวกปรากฏอยู่ ดินบริเวณนั้นแข็งมาก  ขุดจนค่ำก็ไม่เสร็จ วันต่อมาพระอาจารย์น้อยก็ไม่ละความพยายาม ได้ขอแรงชาวบ้านมาช่วยขุดประกอบกับอาจารย์น้อย เคยฝันว่าบริเวณนี้จะมีพรวนขึ้นมาโปรดสัตว์ ชาวบ้านจึงเกิดความเชื่อและคิดว่า จะต้องมีความศักดิ์สิทธิ์อยู่กับบริเวณนี้แน่นอน พระอาจารย์น้อยและชาวบ้านได้ใช้เวลาในการขุดดินอยู่หลายวันและในที่สุดก็พบก้อนหินขนาดใหญ่เป็นสี่เหลี่ยมวางเรียงกันอยู่อย่างเป็นระเบียบ สร้างความตื่นเต้นกับคณะขุดค้นมาก  และช่วยกันขุดต่อไปจนเสร็จ  ปรากฏว่าก้อนหินที่วางเรียงกันอยู่นั้นมีลักษณะเป็นสถูปเรียงด้วยหินศิลาแลงก้อนขนาดใหญ่ ภายในปรางค์กู่  พบพระพุทธรูป 2 องค์ เป็นประดิษฐานอยู่ที่แท่นศิลาแลงสีเขียว ในแท่นประดิษฐานมีอักษรขอม  จารีตเองไว้ 2 แถว นอกจากนั้น  ยังพบพระพิมพ์ดินเผาเป็นพระแผง  ปรางค์ร่มโพธิ์ปรางค์นาคปรก ปรางค์สมาธิ และยังพบโครงกระดูกมนุษย์โบราณ  งาช้าง และวัตถุโบราณ เช่น หินคล้ายก้อนสบู่หินรูปสากหอยสังข์ ฯลฯ เป็นราณวัตถุสมัยทวาราวดี เชื่อกันว่าความเป็นสถานที่สำคัญ ใช้เป็นที่สักการะบูชาในยุคทวาราวดี  ต่อมาชาวบ้านได้ตั้งชื่อพระพุทธรูป ทั้ง 2 องค์ องค์ใหญ่ชื่อว่า หลงพ่อศรี องค์เล็กชื่อว่า หลวงพ่อสา

 

        ลักษณะของพระพุทธรูป

                หลวงพ่อศรี  องค์ใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปรางค์นาคปรกเจ็ดเศียร ทำจากหินทรายสีเขียว หลวงพ่อสา  องค์เล็กเป็นพระพุทธรูปนาคปรกห้าเศียร ทำจากหินทรายใช้เป็นองค์เสี่ยงทาย

       

        ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อศรี

                เชื่อกันว่าพระพุทธมนต์  สามารถนำไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ให้หายได้ ส่วนหลวงพ่อสาองค์เล็ก ใช้ในการยกเสี่ยงทาย  ได้ตามอธิฐานจิตให้แม่น มีเรื่องเล่าขานที่เป็นข้อสนับสนุนความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อ เรื่องมีอยู่ว่ามีนักเลงสุราคนหนึ่งมาจากจังหวัดร้อยเอ็ด ได้เดินทางมากับญาติ เพื่อมากราบนมัสการหลวงพ่อ ได้นำขวดสุราที่มีสุราติดอยู่ในขวด แล้วนำขวดไปรองนำมนต์ใต้แท่นหลวงพ่อศรี เกิดปฏิหาริย์ขึ้น ขวดนั้นได้แตกออกเสียงดังลั่นเกิดความตกตะลึงแก่ผู้พบเห็น และเกิดปฏิหาริย์อีกมากมาย จนทำให้พุทธศาสนิกชน ทั่วทุกสารทิศได้หลั่งไหลมาพึ่งบารมี ด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้าน  ได้ช่วยกันจัดสร้างบูรณะปรางค์กู่ขึ้น เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อศรีและใช้เป็นที่ศูนย์รวมทางจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ในช่วงที่ก่อสร้างยังไม่เสร็จได้มีพวกลักลอบขโมยตัดเศียรหลวงพ่อศรีไป และต่อมาหลวงพ่อสาก็ถูกขโมยไปทั้งองค์ หลังจากนั้นไม่นาน ได้ข่าวว่าพวกที่ขโมยตัดเศียรหลวงพ่อไปก็มีอันเป็นไปทั้งหมด

                ในปี พ.ศ. 2530 พระอาจารย์ทองพูล  เดชวโร เจ้าอาวาสวัดองค์ปัจจุบันได้ให้สร้างบูรณะ หลวงพ่อใหม่โดยคงรูปแบบเดิมไว้ทุกอย่าง  จนเป็นองค์ที่สมบูรณ์ เป็นที่สักการบูชาของคนทั้งหลาย

 

        งานนมัสการหลวงพ่อศรี – หลวงพ่อสา

                งานนมัสการปิดทองหลวงพ่อศรี – หลวงพ่อสา จัดทำขึ้นในเดือนเมษายน (เดือน 5) ของทุกปีชาวบ้านกู่ได้จัดพิธี การทำบุญประเพณีสรงน้ำและปิดทองหลวงพ่อศรี – หลวงพ่อสาขึ้นมีการจุดบั้งไฟเสี่ยงทายน้ำพระพุทธมนต์ ของหลวงพ่อไปประพรม เพื่อความเป็นสิริมงคล

 

        สภาพปรางค์กู่ในปัจจุบัน

                ส่วนบนคือหลังคาจัตุรมุข  ที่มุงด้วยกระเบื้อง  ได้พังทลายครึ่งหนึ่งแล้วพื้นภายในและกำแพง แตกแยกจากกัน และชำรุดเสียหาย ขาดงบบูรณะซ่อมแซม

 

Submit to FacebookSubmit to Google PlusSubmit to TwitterShare with friendsPrint this page